วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2555  บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

*งดการเรียนการสอน เนื่องจากมีกิจกรรม การแข่งขันกีฬาบุคลากร
อาจารย์ให้นักศึกษาทำงานที่มอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว*


วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555   บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

- ส่งแผนการสอน
- อาจารย์แจกกล่องให้คนละ 1 กล่อง อาจารย์ใช้คำถาม 2แบบ
  1. เมื่อเห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร
  2. เมื่อเห็นกล่องแล้ว อยากให้กล่องเป็นอะไร
- อาจารย์ถามว่า กล่องนำมาใช้ในคณิตศาสตร์ได้อย่างไร



- อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เป็น 2 กลุ่ม
 1. นำกล่องของตนเองมาวางต่อกันทีละคนโดยให้แต่ละคนคิดไว้ว่า
     อยากจะต่อเป็นอะไร โดยไม่ต้อง   ปรึกษากัน  


ต่อเป็น รถถัง

 2. นำกล่องของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกัน และช่วยกันคิดว่าจะต่อเป็นอะไร


ต่อเป็น ช้าง

 3. นำสิ่งที่ต่อเสร็จแล้วของแต่ละกลุ่ม นำมารวมกันและต่อเป็นเรื่องราว 
     และให้บอกว่า ได้คณิตศาสตร์  เรื่องอะไรบ้าง จากการต่อกล่อง


ต่อเป็นสวนสัตว์

(สิ่งที่ได้จากการต่อกล่อง เป็นสวนสัตว์)
-  ได้เรื่องทิศทาง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ระหว่าง กึ่งกลาง
-  ได้เรื่องรูปร่างรูปทรง เชื่อมโยงความเป็นจริง ให้มีความเหมือนหรือความคล้าย
-  ได้เรื่องเซต  ในแต่ละตัวละครที่นำกล่องมาต่อ จะต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
-  ให้ทุกคนหาฝาขวดน้ำสีขาวจำนวน 9 ฝา
-  ตัดกระดาษโปสเตอร์สีส้ม สีเหลือง และสีชมพู   ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1นิ้ว 1.5นิ้ว และ 2นิ้ว

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555  บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

- อาจารย์ให้นำเสนองาน วางแผนการสอน ของแต่ละกลุ่ม

หน่วยส้ม  วันอังคาร   ลักษณะและส่วนประกอบของส้ม
1. ครูให้เด็กๆลองสัมผัสพื้นผิวของส้มแต่ละชนิด โดยที่ครูนำส้มใส่กล่องแล้วให้เด็กเอามือคลำ  ครูให้เด็กๆนำส้มที่เด็กๆคิดว่าพื้นผิวเหมือนกันไปวางไว้ที่กล่อง  เช่น เด็กๆสัมผัสส้มที่อยู่ในกล่องสีชมพู  แล้วเด็กๆก็ไปเลือกส้มที่มีพื้ผิวเหมือนในกล่องสีชมพู ไปวางที่กล่องสีชมพู  เมื่อให้เด็กๆจัดประเภทโดยการสัมผัสพื้นผิวแล้ว  ครูจึงนำส้มที่อยู่ในกล่องให้เด็กๆดู ว่าเหมือนกับที่เด็กๆนำมาวางหรือไม่  แล้วจึงทบทวนชนิดของส้ม
2. ครูนำส้มแต่ละชนิด มาให้เด็กๆได้ดูสีลักษณะภายนอก  และปอกเปลือกให้เด็กๆได้ดูส่วนประกอบภายในว่ามีอะไรบ้าง ทีละชนิด  ครูให้เด็กๆได้ดมกลิ่น และชิมรสชาติของส้ม
3. หลังจากที่เด็กๆได้เห็นทั้งภายนอก และส่วนประกอบภายในของส้มแล้ว  ครูและเด็กจึงร่วมสรุปผลเป็นตาราง  และนำผลในตารางมาจัดเซต

                                                                       น.ส.นฎา  หาญยุทธ
ตัวอย่างตารางสรุปผล

                                                                          น.ส.นฎา  หาญยุทธ
ตัวอย่างการสรุปผลเป็นเซต

*งานที่ได้รับมอบหมาย*
-  เขียนแผนการสอนคนละ1วัน

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555    บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

-  อาจารย์ให้นำเสนอผลงาน หน่วยส้ม
-  อาจารย์แนะนำสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข


-  อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอเนื้อหาทั้ง12ข้อหน้าชั้นเรียน




-  อาจารย์ให้คำแนะนำสิ่งที่นำเสนอ

*งานที่ได้รับมอบหมาย*

- ให้แก้ไข mymap ให้สมบูรณ์
- แบ่งสมาชิกในกลุ่มให้รับผิดชอบคนละ1วัน
- ให้แต่ละคนเขียนสิ่งที่จะสอนในแต่ละวันและบอกว่าในแต่ละหัวข้อใช้เนื้อหาทางคณิตศาสตร์อะไรบ้าง

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555     บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

-นำเสนอ my map ของแต่ละกลุ่ม



สิ่งที่อาจารย์แนะนำ
- ทำไมต้องมีหน่วยการ
  = เพื่อนำหน่วยมาวางแผนการจัดกิจกรรมอย่างมีอิสระ เด็กต้องเรียนรู้เพื่อเอาตัวรอด
- หลักการเลือกเนื้อหาสาระ
  = 1.เลือกหน่วยที่ใกล้ตัวเด็ก  2.สิ่งที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

เนื้อหาหรือทักษะ
1. การนับ
เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย
2. ตัวเลข
เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้ในชีวิตประจำวัน  ให้เด็กนับและคิดเอง
3. การจับคู่
เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการจับคู่ จำนวน/จำนวน  จำนวน/ตัวเลข
4. จัดประเภท
เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆ และจัดประเภทได้
5. การเปรียบเทียบ
เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสำพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า
6. การจัดลำดับ
เป็นการจัดสิ่งของเป็นชุดๆ เรียงตามลำดับ หนัก-เบา / เบา-หนัก
7. รูปทรงและเนื้อที่
สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ความกว้าง ความหนา ความลึก
8. การวัด
การหาค่า เพื่อให้รู้ขนาดโดยการใช้เครื่องมือต่างๆในการวัดหาค่าความยาว ความกว้าง การหาค่าน้ำหนัก (ชั่งน้ำหนัก) หาค่าโดยการวัด การชั่ง การตวง
9. เซต
จัดหมวดหมู่สื่งที่มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน เช่น จัดหมวดหมู่อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร
10. เศษส่วน
การแบ่งสัดส่วน เช่นการแบ่งขนม แบ่งไป1ชิ้น เหลือ3ชิ้น มีขนมทั้งหมด4ชิ้น เหลือ3ใน4
11. ทำตามแบบหรือลวดลาย
เป็นแบบข้อตกลงร่วมกัน  คณิตศาสตร์มีระบบมีวิธีการ จึงต้องให้เด็กมีประสบการณ์ในการทำตามแบบ
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
เด็กจะตัดสินจากสิ่งที่ตาเห็น



*งานที่ได้รับมอบหมาย*
ปรับปรุงหัวข้อ และนำทฤษฎีไปบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในหน่วยที่ปรัลปรุงแล้ว

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2555  บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

- อาจารย์ให้วาดภาพอะไรก็ได้ใส่กระดาษแผ่นเล็ก (ภาพที่แทนตัวเรา)
  อาจารย์กำหนดเกณฑ์ให้3เกณฑ์คือ  มาก่อนเที่ยง มาเที่ยงตรง และมาหลังเที่ยง
  ให้ทุกคนนำภาพของตนเองไปติดตามเวลาที่ตนเองมาเรียน


  เมื่อนำไปใช้กับเด็ก
  - เด็กเรียนรู้เรื่องของเวลา ก่อน-หลัง (ก่อนเที่ยง-เที่ยงตรง-หลังเที่ยง)
  - เด็กเรียนรู้เรื่องของการจัดหมวดหมู่  (ครูจะต้องกำหนดเกณฑ์)
  - เด็กเรียนรู้เรื่องของการนับ (นับจำนวนของคนที่มาในแต่ละวิชา)
  - เด็กเรียนรู้เรื่องของการเปรียบเทียบปริมาณ (เปรียบเทียบโดยการนำภาพมาเรียงแถวกันเป็นหมวดหมู่  เพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน)



* การที่จะสอนการนับเลขให้เด็กต้องให้ข้อมูลเด็กอย่างซ้ำๆ เด็กจะเกิดการซึมซับเข้าสมองเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่

* ถ้าเด็กสามารถบอกได้ว่าตัวเลขแทนจำนวนเท่าไหร่ แสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถให้เหตุผลได้

คณิตศาสตร์สามารถบูรณาการผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน เกมการศึกษา
(เกมจับคู่ , เกมเรียงลำดับ , เกมจัดหมวดหมู่ , เกมจิ๊กซอว์ , เกมโดมิโน , เกมความสัมพันธ์สองแกน)
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
(กำหนดรูปทรงเรขาคณิตให้เด็กวาดภาพต่อเติมตามจินตนาการ)
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน กิจกรรมเสรี
(เตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้สำหรับให้เด็กได้วัดขนาด ชั่งน้ำหนัก หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง)
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
(เปิดเพลงที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์และให้เด็กทำท่าทางประกอบเพลง)
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน กิจกรรมเสริมประสบการณ์
- คณิตศาสตร์บูรณาการผ่าน กิจกรรมกลางแจ้ง
(ให้เด็กเล่นเกมในรูปแบบต่างๆ ครูมีการกำหนดเกณฑ์ในการเล่น เช่น ให้เด็กจับกลุ่มจำนวนตามที่ครูบอก เป็นต้น )

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555     บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1

1. อาจารย์อาจารย์พูดเกี่ยวกับข้อตกลงในการเรียน
2. อาจารย์ให้แต่ละคนเขียน คนละ1ประโยค เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3. การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เราจะต้องเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง
    -  หลักในการจัด
    -  ความหมายของคณิตศาสตร์
    -  วิธีการจัด
    -  เนื้อหาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
    -  การทำสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์
    -  วิธีการประเมินผล